วันเสาร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกครั้งที่8 วันพุธที่15 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2560


                                                                  บันทึกอนุทิน





 Knowledge



นำเสนอคำคม

นางสาววราภรณ์  แทนคำ

                                                              หากมีคนมาขอคำปรึกษา
                                                                 จงแนะนำแนวทางแก่เขา
                                                                 ไม่ใช่เข้าไปแก้ปัญหาให้เขา
                                                                 อย่าบังคับคนอื่นให้คิดเหมือนเรา
                                                                แค่แนะนำให้เขาได้ตัดสินใจได้ก็พอ


เทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีสำหรับการเป็นผู้บริหาร


                                 












ความท้อถอยสามารถสังเกตได้จากอาการ 3 ลักษณะ คือ

1. ลักษณะของความท้อถอยทางด้านอารมณ์ หรือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเบื่อหน่าย ความอ่อนล้า หมดเรี่ยวหมดแรง เกิดความเครียด ความคับข้องใจ ไม่สบอารมณ์   
2. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ได้แก่ ลักษณะของบุคคลที่ไม่สนใจในพฤติกรรมของใครๆ ไม่ยินดียินร้าย ใครจะทักก็ช่าง ใครไม่ทักก็ช่าง ไม่ใส่ใจพฤติกรรมของคนอื่น มีเจตคติและแนวคิดที่ไม่ดีต่อคนอื่น มองคนอื่นในแง่ร้าย 
3. ลักษณะของความท้อถอยที่เกิดจากการไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานของคนบางท่านอาจจะรู้สึกเองว่าตนเองไร้ความสามารถ การทำงานล้มเหลว งานไม่สมกับที่ตั้งใจไว้ บุคคลกลุ่มนี้จะมองคุณค่าของตนเองต่ำ



แนวทางและวิธีการในการแก้ไขอาการท้อถอย


1. ทุกสิ่งทุกอย่างต้องแก้ไขที่ตัวเราเองเท่านั้น 
2. อย่าเป็นคนตั้งความหวัง ความปรารถนาที่สูงสุดเอื้อม 
3. สร้างเจคติเรื่องงานใหม่ให้ท่านคิดว่า 
“งานคือชีวิต ชีวิตคืองานบันดาลสุขทำงานให้สนุกเป็นสุขเมื่อทำงาน”
4. มองหาจุดมุ่งหมายในชีวิตใหม่ 



ครูกับการพัฒนาตน

. ครูควรพัฒนาตนเองใน 2 ลักษณะคือ

1. การพัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพ เพื่อการประกอบวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้แก่
- การพัฒนาในด้านความรู้
- การพัฒนาในด้านเทคโนโลยี
- การพัฒนาในด้านคุณลักษณะกับเจตคติ
2. การพัฒนาตนในด้านการเป็นสมาชิกของสังคม เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 
- การรู้จักตนเองและการเข้าใจตนเอง
- การสำรวจตนเอง
- การปรบปรุงตนเองในด้าน การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก – ภายใน การพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดี การพัฒนามนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาการเรียนรู้




หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ

การยืน เดิน นั่งเป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลอิริยาบถคือการเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม  
การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ 
การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่างๆการไปเยี่ยมคนป่วยการมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น  
บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี

การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด


ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี
ไม่มองคนในแง่ร้ายจิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้นจึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้


           

Apply

นำเทคนิคการเสริมสร้างบุคลิกภาพไปใช้พัฒนาตนและผู้อื่นให้เกิดประโยชน์ให้สูงสุดที่สุด



Assessment


 Classroom   บรรยากาศน่าเรียนสะอาดแอร์ไม่เย็นเกินไป ที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม


 My Self     ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียนร้อยมีความพร้อมที่จะเรียน ตอบคำถามและสนใจในการเรียน


Friends      ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเพราะ มีความพร้อมที่จะเรียน การจดบันทึกและตอบคำถาม


Teacher      มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนสนุกนักเรียนเข้าใจง่าย มีความเอาใจใส่นักเรียนทุกคนพูดจาไพเราะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น