บันทึกครั้งที่3 วันพุธที่25 เดือน มกราคม พ.ศ. 2560
บันทึกอนุทิน
ความหมายและประเภทของผู้นำ
ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย
ประเภทของผู้นำ
1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal)และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ 1 ผู้นำแบบใช้พระเดช 2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ 3 ผู้นำแบบพ่อพระ
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership) ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ได้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ราชการมาหรือเกิดขึ้นจากตัวผู้นั้น หรือจากบุคลิกภาพของผู้นั้นเอง ผู้นำแบบนี้ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวง ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leadership) ผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น มิใช่อำนาจที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ความสำเร็จในการครองใจและชนะใจของผู้นำประเภทนี้ ได้มาจากแรงศรัทธาที่ก่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับเกิดความเคารพนับถือและเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันให้ร่วมจิตร่วมใจกัน ปฏิบัติตามคำสั่งแนะนำด้วยความเต็มใจ ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน ๆ คน ได้
1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ (Symbolic Leadership) ผู้นำที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมิได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามเพราะเกิดแรงศรัทธา หรือสัญญาลักษณ์ในตัวของผู้นั้นมากกว่า เช่น พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยทั้งมวล
ผู้นำยุคใหม่
คุณสมบัติของผู้นำตามอักษรแต่ละตัวในคำว่า LEADERSHIP มีความหมายบ่งชี้ถึงลักษณะต่างๆ ของผู้นำที่ดี ดังนี้
1. L คือ Listen เป็นผู้ฟังที่ดี..
2. E คือ Explain สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เข้าใจได้..
3. A คือ Assist ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย…
4. D คือ Discuss รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..
5. E คือ Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติงาน..
6. R คือ Response แจ้งข้อมูลตอบกลับ…
7. S คือ Salute ทักทายปราศรัย...
8. H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ..
9. I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง..
10. P คือ Patient มีความอดทนเป็นเลิศนั่นเอง..
ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ (Line Manager)
2. ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ (Staff Manager)
3. ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน (Functional Manager)
4. ผู้บริหารทั่วไป (General Manager)
5. ผู้บริหาร (Administrator)
การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย
ทักษะของผู้บริหาร
Robert L. Katz ได้เสนอว่าทักษะของผู้บริหารที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1) ทักษะด้านเทคนิค (Technical Skills)
2) ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Skills)
3) ทักษะด้านการประสมแนวความคิด (Conceptual Skill)
บันทึกครั้งที่3 วันพุธที่25 เดือน มกราคม พ.ศ. 2560
บันทึกอนุทิน
ความหมายและประเภทของผู้นำ
ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ ส่วนความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย
ประเภทของผู้นำ
1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ เป็นผู้นำโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) และมีอำนาจบารมี (Power) เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal)และไม่เป็นทางการ (Informal) เกิดพลังร่วมของกลุ่มในการดำเนินงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อำนาจนี้ได้มาจาก กฎหมาย กฎระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ในการปฏิบัติ จำแนกผู้นำประเภทนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ 1 ผู้นำแบบใช้พระเดช 2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ 3 ผู้นำแบบพ่อพระ
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช (Legal Leadership) ผู้นำแบบนี้เป็นผู้นำที่ได้อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่ราชการมาหรือเกิดขึ้นจากตัวผู้นั้น หรือจากบุคลิกภาพของผู้นั้นเอง ผู้นำแบบนี้ได้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในกระทรวง ทบวง กรม เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หัวหน้ากอง และหัวหน้าแผนก เป็นต้น
1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leadership) ผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น มิใช่อำนาจที่เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่ ความสำเร็จในการครองใจและชนะใจของผู้นำประเภทนี้ ได้มาจากแรงศรัทธาที่ก่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับเกิดความเคารพนับถือและเป็นพลังที่จะช่วยผลักดันให้ร่วมจิตร่วมใจกัน ปฏิบัติตามคำสั่งแนะนำด้วยความเต็มใจ ตัวอย่างได้แก่ มหาตมะคันธี ซึ่งสามารถใช้ภาวะการเป็นผู้นำครองใจชาวอินเดียนับเป็นจำนวนล้าน ๆ คน ได้
1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ (Symbolic Leadership) ผู้นำที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายมิได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองบังคับบัญชา บุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตามเพราะเกิดแรงศรัทธา หรือสัญญาลักษณ์ในตัวของผู้นั้นมากกว่า เช่น พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นองค์ประมุขและสัญลักษณ์ของแรงศรัทธาของประชาชนไทยทั้งมวล
ผู้นำยุคใหม่
คุณสมบัติของผู้นำตามอักษรแต่ละตัวในคำว่า LEADERSHIP มีความหมายบ่งชี้ถึงลักษณะต่างๆ ของผู้นำที่ดี ดังนี้
1. L คือ Listen เป็นผู้ฟังที่ดี..
2. E คือ Explain สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เข้าใจได้..
3. A คือ Assist ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย…
4. D คือ Discuss รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น..
5. E คือ Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติงาน..
6. R คือ Response แจ้งข้อมูลตอบกลับ…
7. S คือ Salute ทักทายปราศรัย...
8. H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ..
9. I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง..
10. P คือ Patient มีความอดทนเป็นเลิศนั่นเอง..
ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ (Line Manager)
2. ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ (Staff Manager)
3. ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน (Functional Manager)
4. ผู้บริหารทั่วไป (General Manager)
5. ผู้บริหาร (Administrator)
การบริหารงานให้บรรลุเป้าหมาย
ทักษะของผู้บริหาร
Robert L. Katz ได้เสนอว่าทักษะของผู้บริหารที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1) ทักษะด้านเทคนิค (Technical Skills)
2) ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Skills)
3) ทักษะด้านการประสมแนวความคิด (Conceptual Skill)
Activity
ชื่อนักบริหาร CHANAPA
C=>Courage มีความกล้าหาญ
H=>High Ground ความมีมตรฐานในตัวเอง มีความซื่อสัตย์และมีความโปร่งใสสูง
A=>Adaptabilty ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม รู้พร้อมในสถานการณ์รอบด้าน
N=>Neutrality มีความเป็นกลาง
A=>Analysts Thinkers นักคิด นักวิเคราะห์
P=>Professional ความเป็นมืออาชีพในการทำงาน
A=>Art มีศิลปะ
Apply
ศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องการบริหารสถานศึกษาปฐมวัย ทั้งความหมาย ทฤษฏีต่างๆ ประเภทของผู้นำ บุคลิกภาพรวมทั้งบทบาทต่างๆเพื่อเป็นบันไดในการก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารในอนาคต
Classroom บรรยากาศน่าเรียนสะอาดแอร์ไม่เย็นเกินไป ที่พอเหมาะในการทำกิจกรรม
My Self ตั้งใจเรียนแต่งกายเรียนร้อยมีความพร้อมที่จะเรียน ตอบคำถามและสนใจในการเรียน
Friends ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดเพราะ มีความพร้อมที่จะเรียน การจดบันทึกและตอบคำถาม
Teacher มีความพร้อมที่จะสอน มีเทคนิคการสอนสอนสนุกนักเรียนเข้าใจง่าย มีความเอาใจใส่นักเรียนทุกคนพูดจาไพเราะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น